วันที่ 7 ก.ย.64 นายพิศาล พงศาพิชณ์ เลขาธิการสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) มอบหมายให้ นายกฤษ อุตตมะเวทิน รองเลขาธิการ มกอช. เป็นประธานเปิดโครงการจัดสัมมนารูปแบบออนไลน์ ส่องกระแสสินค้าฮาลาล: การรับรองมาตรฐานและโอกาสในตลาดสากล โดยมี นางสาวเสาวลักษณ์ ศุภกมลเสนีย์ ผู้อํานวยการกองนโยบายมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหาร กล่าวรายงานถึงวัตถุประสงค์ของการจัดโครงการดังกล่าว ผ่านทางระบบออนไลน์ (Zoom Application) โดยมีผู้เข้ารับการฝึกอบรม ประกอบด้วย เจ้าหน้าที่จากภาครัฐและเอกชน ได้แก่ เจ้าหน้าที่ส่วนกลาง และส่วนภูมิภาคของ สกอท. ผู้แทนสถานประกอบการ ผู้แทนกรมปศุสัตว์ ผู้แทนกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ และผู้แทนสํานักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ รวมทั้งสิ้น 200 คน ระหว่างวันที่ 7-8 กันยายน 2564
ทั้งนี้ มกอช.ได้ผลักดันผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องให้ผลิตสินค้าเกษตรและอาหารให้ได้มาตรฐาน และเป็นไปตาม ข้อกําหนดด้านสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช (Sanitary and Phytosasnitary Measures: SPS) ของ ประเทศคู่ค้า ควบคู่กับข้อกําหนดที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ อาทิ ข้อกําหนดเกี่ยวกับการผลิตสินค้าให้สอดคล้องกับ หลักศาสนาอิสลาม ข้อกําหนดด้านความปลอดภัยอาหาร และข้อกําหนดด้านการรับรองฮาลาล ดังนั้น การเสริมสร้างความรู้ให้แก่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการผลิตสินค้าเกษตร และอาหารจึงเป็นสิ่งสําคัญ และต้อง ดําเนินการอย่างต่อเนื่องเพื่อเสริมสร้างองค์ความรู้ให้กับผู้ประกอบการ หน่วยงานรับรอง และเจ้าหน้าที่ ภาครัฐที่เกี่ยวข้อง
ปัจจุบัน สํานักงานคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย (สกอท.) เป็นหน่วยงานรับรอง มาตรฐานฮาลาลของไทยมีหน้าที่กํากับดูแลสินค้าฮาลาลไทยให้มีมาตรฐานถูกต้องตามหลักศาสนาอิสลาม โดยที่ผ่านมา สกอท. และ มกอช. เห็นความสําคัญของการยกระดับสินค้าอาหารฮาลาลไทย และได้ร่วมกัน จัดทํามาตรฐานอาหารฮาลาล มกษ. ๘๔๐๐-๒๕๕๐ เรื่องอาหารฮาลาล ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษา ตั้งแต่พ.ศ. ๒๕๕๐ เพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถนําไปใช้ประกอบการผลิตอาหารฮาลาลให้ได้มาตรฐาน และ ได้รับการยอมรับในระดับสากล
ในการนี้ มกอช. จึงได้ร่วมกับ สกอท. จัดสัมมนารูปแบบออนไลน์ในหัวข้อส่องกระแสสินค้า ฮาลาล: การรับรองมาตรฐานและโอกาสในตลาดสากลผ่านระบบ ZOOM Cloud Meetings เพื่อเตรียม ความพร้อมให้กับผู้ประกอบการ รวมถึงเจ้าหน้าที่ภาครัฐ และหน่วยรับรองฮาลาล ให้พร้อมปฏิบัติตาม ข้อกําหนดที่เกี่ยวกับการค้าสินค้าอาหารฮาลาลระหว่างประเทศ ผ่านการระดมความคิดเห็นเพื่อหา แนวทางในการสร้างความเข้มแข็งตลอดจนปรับปรุงแก้ไขโดยเสริมจุดแข็ง ขจัดจุดอ่อนการตรวจสอบ รับรองอาหารฮาลาล และผลิตภัณฑ์ฮาลาลของไทยให้เป็นที่ยอมรับและสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภค ทั้งใน และต่างประเทศ