ดร.ณรงค์
ศิริเลิศวรกุล ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
และ ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ร่วมแถลงข่าวความร่วมมือในการเปิดเวที
“การประกวดผลงานวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 1”
หรือ NSTIF 2021 เมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2564 ณ โถงอาคาร สวทช. (โยธี) ถ.พระรามที่ 6
กรุงเทพฯ ซึ่งเป็นความร่วมมือกันครั้งแรกของทั้งสองหน่วยงาน
ที่ร่วมเปิดเวทีการประกวดเยาวชนคนเก่ง โดยภายในงานยังมีตัวแทนอดีตเยาวชนที่เคยผ่านการแข่งขันทั้งสองเวทีมาร่วมงาน
ได้แก่ รศ.ดร.ทวีธรรม ลิมปานุภาพ หัวหน้าสาขาวิชาเคมีจากวิทยาลัยนานาชาติ
มหาวิทยาลัยมหิดล ในฐานะนักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่ประจำปี 2563 และนายณัฎฐ์
ปิยะปราโมทย์ วิศวกรซอฟแวร์อาวุโส บริษัท อโกด้า เซอร์วิสเซส จำกัด เพื่อมาถ่ายทอดประสบการณ์ที่เคยผ่านการประกวดโครงการ
YSC และ NSC
โครงการการประกวดโครงงานของนักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์
หรือ YSC
เป็นโครงการเพื่อกระตุ้นและสนับสนุนเยาวชนในระดับมัธยมศึกษาให้มีโอกาสแสดงความสามารถและทักษะที่เป็นนวัตกรรม
และความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระดับประเทศ
และคัดเลือกผู้ชิงชนะเลิศและคัดเลือกตัวแทนประเทศไทยสำหรับเข้าประกวดในงาน Intel
International Science and Engineering Fair : Intel ISEF ที่ได้เปลี่ยนชื่อเป็น
Regeneron ISEF เมื่อปี พ.ศ. 2563
ซึ่งการประกวดดังกล่าวจัดขึ้นเป็นประจำทุกปี มาตั้งแต่ปี พ.ศ.2493 โดย Society for Science & the Public
ส่วนโครงการการแข่งขันพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์แห่งประเทศไทย
หรือ NSC
จัดขึ้นเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์หรือซอฟท์แวร์สำหรับเยาวชนทั่วประเทศ
รวมทั้งพัฒนาทักษะ ความคิดริเริ่มในการพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์
ซึ่งจะเป็นรากฐานสำคัญต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมด้านซอฟท์แวร์ของประเทศ
ซึ่งผู้ชนะเลิศในประเภทนักเรียน นิสิตและนักศึกษา จะได้รับถ้วยพระราชทานจากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า
กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
และถือเป็นเวทีประกวดซอฟท์แวร์ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย
ดร.ณรงค์ ศิริเลิศวรกุล |
ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง |
ด้าน
ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการ วช. เผยว่า วช. ได้ให้ทุนสนับสนุนแก่เยาวชนผ่านเครือข่ายศูนย์ประสานงานภูมิภาค
YSC
ได้แก่ มหาวิทยาลัยนเรศวร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
และมหาวิทยาลัยศิลปากร เพื่อพัฒนาผลงานเข้าประกวดในโครงการ YSC และให้ทุนสนับสนุนแก่เยาวชนผ่านเครือข่ายมหาวิทยาลัยภูมิภาค 6 แห่ง ได้แก่ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
สำนักงานอุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น คณะวิศวกรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ คณะวิทยาการสารสนเทศ มหาวิทยาลัยบูรพา
สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และคณะวิทยาศาสตร์
มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์
เพื่อพัฒนาผลงานสำหรับแข่งขันในโครงการ NSC อีกทั้งสนับสนุนทุนแก่
สวทช. ในการจัดการประกวดผลงานวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติครั้งนี้ นับเป็นเวทีที่จะสร้างและพัฒนาเยาวชนให้มีความพร้อมในการเป็นนักประดิษฐ์ที่มีคุณภาพ
และศักยภาพ เพื่อเติบโตเป็นนวัตกรที่สำคัญของประเทศต่อไปในอนาคต